Liverpool FC Logo

Liverpool FC Logo

9/22/2554

Bill Shankly


Bill Shankly

Full Name: William Shankly OBE
Date of Birth: 2 September 1913
Birthplace: Glenbuck, Scotland
Date of Death: 29 September 1981 (Age 68)
Place of Death: Liverpool, England
Years at Liverpool: 1959 to 1974
Games (as Manager): 783
League Games (as Manager): 609
Honours: League Championships (1963/64, 1965/66, 1972/73)
FA Cup (1964/65, 1973/74)
Uefa Cup (1972/73)
Second Division Championship (1961/62)
Charity Shields (1964 [shared], 1965 [shared], 1966)
Runner-up League Championship (1968/69, 1973/74)
Runner-up FA Cup (1970/71)
Runner-up European Cup Winners Cup (1965/66)
Runner-up Charity Shields 1971

ไม่มีใครคาดคิดว่าชายหนุ่มผู้ซึ่งมาจากครอบครัวชนชั้นแรงงานที่มีพี่น้องถึง 10 คน
ผู้นี้จะกลายเป็นบุคคลซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากมาย ต่อผู้คนหลายล้านคนเมื่อยามที่เขามีชีวิตอยู่ และแม้แต่ยามที่เขาเสียชีวิตไปแล้วแต่เขาก็ยังเป็นที่เคารพรักของชนรุ่นหลัง และเป็นชื่อแรกๆที่ผู้คนจะนึกถึง 
เมื่อใดก็ตามที่พูดถึงตำนานและประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอล 
ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเกาะอังกฤษแห่งนี้

บิล แชงค์ลี่ย์นั้นเกิดในหมู่บ้านเหมืองแร่ Ayrshire ในเมือง Glenbuck ประเทศสก็อตแลนด์ การได้เล่นฟุตบอลใน Glenbuck สมัยนั้นเหมือนเป็นหนทางที่ช่วยให้เด็กหนุ่ม ได้มีโอกาสหลุดออกมาจากเส้นทางชีวิตของอาชีพคนทำเหมือง ที่ต้องอยู่ในเหมืองที่มืดและอับชื้นเกือบตลอดเวลา ทั้งบิลและพี่ชายทั้งสี่คนของเขาต่างก็เป็นสมาชิกของทีม Glenbuck Cherrypickers ซึ่งประกอบด้วยนักฟุตบอล 49 คนที่มาจากหมู่บ้านเดียวกัน ซึ่งภายหลังทั้งห้าคนก็ได้กลายมาเป็นนักฟุตบอลอาชีพ โดยบ็อบพี่ชายคนนึงของบิลก็ได็เป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน จากการพาทีมดันดีเป็นแชมป์ลีกสก็อตในปี 1962

แชงค์นั้นเริ่มต้นเตะฟุตบอลในระดับเยาวชนกับทีม Glenbuck Cherrypickers และ Cronberry Eglinton จนเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 1932 ความสามารถของเขาได้ไปสะดุดตาแมวมองและได้รับการเซ็นสัญญากับทีม Carlisle United ปีถัดมาหลังจากลงเล่นให้กับทีมไปเพียง 16 นัด เขาก็ถูกดึงตัวไปร่วมทีม Preston North End ด้วยค่าตัว 500 ปอนด์ ซึ่งเขาได้ช่วยให้เปรสตันเลื่อนชั้นขึ้นมาสู่ดิวิชั่นหนึ่งในปี 1934 และคว้าแชมป์เอฟเอคัพในปี 1938 บิลเล่นในตำแหน่งวิงฮาล์ฟได้อย่างยอดเยี่ยมจนถูกเรียกตัวเข้าไปติดทีมชาติทั้งหมด 7 ครั้ง เป็นที่น่าเสียดายที่สงครามโลกครั้งที่สองในปี 1939 ทำให้การเป็นนักฟุตบอลอาชีพและนักฟุตบอลทีมชาติของเขาต้องสะดุดลงไป หลังจากที่ฟุตบอลอาชีพเริ่มมีการก่อตัวขึ้นมาใหม่ในปี 1946/47 เขาก็กลับมาเล่นให้กับทีมเปรสตันอีกครั้ง แต่ขณะนั้นบิลก็มีอายุ 33 ปีและเข้าสู่ช่วงท้ายของอาชีพการค้าแข้งของเขาแล้ว สงครามโลกได้ช่วงชิงช่วงเวลาที่น่าจะดีที่สุดในการค้าแข้งของเขาไป

บิลตัดสินใจแขวนสตั๊ดในเดือนมีนาคมปี 1949 และเริ่มต้นการเป็นผู้จัดการทีมในเดือนเดียวกันให้กับ Carlisle United ซึ่งเป็นที่เดียวกับที่เขาเริ่มต้นอาชีพค้าแข้ง หลังจากนั้นเขายังได้คุมทีม Grimsby Town (1951-1953) และ Workington (1953 – 1955) ซึ่งต่างก็อยู่ในลีกดิวิชั่น Three North ในปี 1955 Andy Beattie อดีตเพื่อนร่วมทีมเปรสตันซึ่งขณะนั้นเป็นผู้จัดการทีม Huddlesfield Town ในดิวิชั่น 1 ได้ดึงแชงค์ไปเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีม และเขาก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้จัดการของทีมหลังจากนั้นเพียงไม่นานจากการลาออกของ Beattie หลังจากทีมต้องตกชั้นในตอนจบฤดูกาล



แม้ว่าแชงค์จะไม่สามารถพาทีม Huddlesfield กลับขึ้นมาสู่ดิวิชั่นสูงสุดได้ แต่มันก็ทำให้เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้จัดการทีม หนึ่งในนักเตะที่เขาดึงตัวมาร่วมทีมเมื่อได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมเต็มตัวในปี 1956 ก็คือ เดนนิส ลอว์ นักเตะดาวรุ่งวัย 15 ปี ในปีนั้นบอร์ดบริหารต้องการที่จะรับข้อเสนอ 45,000 ปอนด์ของเอฟเวอร์ตัน แต่ก็ต้องปฏิเสธไปหลังจากที่แชงค์ได้ออกมาให้สัมภาษณ์อย่างฉุนเฉียวว่า “จดลงในไดอารี่ของพวกคุณไว้เลยนะ วันนึงเดนนิส ลอว์จะมีค่าตัวในการย้ายทีมถึงแสนปอนด์” และคำทำนายของแชงค์ก็กลายเป็นจริงในปี 1962 เมื่อลอว์ได้ย้ายทีมจากโตริโน่ไปยังทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยค่าตัว 115,000 ปอนด์ซึ่งเป็นสถิติของเกาะอังกฤษในขณะนั้น แชงค์ตัดสินใจออกจาก Huddlesfield Town ในปี 1959 เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินที่มากพอ เขาอยากที่จะเซ็นสัญญากับนักเตะสองคนหลังจากที่ไปนั่งดูการแข่งขันในสก็อตแลนด์ แต่ไม่ได้รับการอนุมัติจากบอร์ดบริหาร และนักเตะสองคนนั้นก็คือรอน ยีสต์ และเอียน เซนต์จอห์น ซึ่งภายหลังแชงค์ก็ได้ดึงพวกเขามาอยู่กับลิเวอร์พูลและกลายมาเป็นตำนานของทีมนี่เอง

ความมุ่งมั่นและกระตือรือร้นของแช้งค์นั้นเป็นที่สนใจของทอม วิลเลี่ยมส์ประธานสโมสรลิเวอร์พูล และเขาก็ตัดสินใจชวนแชงค์เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลหลังจากการลาออกของ ฟิล เทย์เลอร์ผู้จัดการทีมคนก่อน ลิเวอร์พูลในตอนนั้นอยู่ในระดับครึ่งล่างของตารางในดิวิชั่นสอง โดยทั้งสนามแข่งและสนามฝึกซ้อมต่างก็มีสภาพที่ย่ำแย่ รวมทั้งนักเตะที่มีจำนวนมากมายแต่ส่วนใหญ่ไม่มีคุณภาพที่ดีเพียงพอ แต่ลิเวอร์พูลในตอนนั้นก็ยังมีทีมสต๊าฟที่ยอดเยี่ยม ซึ่งประกอบด้วยโจ ฟาแกน, Reuben Bennett, และบ็อบ เพสลี่ย์ซึ่งพึ่งจะรีไทร์จากการเป็นนักเตะมาไม่กี่ปี แชงค์เล็งเห็นถึงความทะเยอทะยานและศักยภาพที่มีอยู่ในถิ่นแอนฟิลด์มากกว่าที่เดิม เลยตัดสินใจเซ็นสัญญามาเป็นผู้จัดการทีมของลิเวอร์พูลในเดือนธันวาคม ปี 1959 แช้งค์ตัดสินใจที่จะเริ่มโละผู้เล่นที่เขาคิดว่าไม่ดีพอออกไปโดยเขาโละไปทั้งสิ้น 24 คน และพยายามสร้างทีมขึ้นมารอบยีสต์และเซนต์จอห์นสองนักเตะชาวสก็อตที่เขาคว้าตัวมา แต่เขาก็ยังยึดมั่นกับสต๊าฟโค้ชที่มีอยู่ และแล้วตำนานของบู๊ทรูมสต๊าฟก็ถือกำเนิดขึ้น



แชงค์ลี่ย์พูดถึงตัวเขาและลิเวอร์พูล
“Liverpool was made for me and I was made for Liverpool.”
“ลิเวอร์พูลนั้นเกิดมาเพื่อผม และผมก็เกิดมาเพื่อลิเวอร์พูล”


จากการที่สนามซ้อมที่เมลวุ้ดอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่และมีก๊อกอาบน้ำเพียงแค่อันเดียว แชงค์กลับใช้ประโยชน์จากมัน โดยการให้นักเตะทุกคนมารวมกันที่สนามแอนฟิลด์ ก่อนที่จะนั่งรถบัสไปฝึกซ้อมที่เมลวู้ดด้วยกัน หลังจากฝึกซ้อมเสร็จนักเตะทุกคนต้องนั่งรถบัสกลับมาด้วยกันที่สนามแอนฟิลด์ เพื่อที่จะอาบน้ำ ซึ่งได้ช่วยสร้างความกลมเกลียวกันมากขึ้นระหว่างนักเตะ แชงค์ยังได้นำการควบคุมอาหาร, การฝึกซ้อมทักษะ, รวมถึงการฝึกซ้อมใหม่ๆ อย่างการแบ่งเป็นข้างๆละห้าคน (five-a-side) ซึ่งช่วยให้ฝึกซ้อมในระบบจ่ายบอลแล้วเคลื่อนที่ (pass and move) อย่างที่เขาต้องการเข้ามาสู่ทีม เขายังคอยดูแลให้นักเตะแต่ละคนวอร์มดาว์นหลังการฝึกซ้อมอย่างถูกต้อง เพื่อลดโอกาสในการบาดเจ็บลงอีกด้วย




ลิเวอร์พูลนั้นใช้เวลาไม่นานนักในการกลับเข้ามาสู่ลีกสูงสุดได้อีกครั้ง หลังจากที่ตกชั้นไปในปี 1954 โดยสามารถคว้าแชมป์ดิวิชั่นสองเดิมในปี 1961/62 โดยมีคะแนนห่างจากที่สองถึง 8 คะแนน (ในระบบชนะได้สองแต้ม) ในฤดูกาลแรกที่ลิเวอร์พูลกลับขึ้นมาสู่ลีกสูงสุดอีกครั้งเป็นครั้งแรก สามารถทำผลงานพอใช้ได้ โดยจบอันดับเป็นที่ 8 ของตาราง โดยแชมป์ในปีนั้นก็เป็นทีมคู่แข่งร่วมเมืองอย่างเอฟเวอร์ตันนี่เอง แล้วในฤดูกาลถัดมาบิล แชงค์ลี่ย์ก็สามารถพาทีมกลับมาเป็นแชมป์ลีกสูงสุดได้อีกครั้งในรอบ 17 ปี โดยใช้เวลาเพียงแค่ 2 ฤดูกาลหลังจากกลับขึ้นมาจากดิวิชั่นสองมาคว้าแชมป์ โดยมีคะแนนเหนือทีมที่ได้ที่สองอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไป 4 คะแนน และมากกว่าคู่แข่งร่วมเมือง 
ซึ่งแชมป์เก่าไป 5 คะแนน โดยนับเป็นการเป็นแชมป์ในลีกสูงสุดครั้งที่หกของสโมสร


หนึ่งในวาทะเด็ดของแชงค์ลี่ย์
“If you are first you are first. If you are second you are nothing.”
“ถ้าคุณได้ที่หนึ่งคุณก็ได้เป็นที่หนึ่ง ถ้าคุณได้ที่สองคุณก็ไม่ได้เป็นอะไรเลย”


ในฤดูกาล 1964/65 บิล แชงค์ลี่ย์ได้นำทีมลิเวอร์พูลลงเล่นในเกมยุโรปเป็นครั้งแรกของสโมสร จากการที่ได้แชมป์ดิวิชั่น 1 ในฤดูกาลก่อน และก็สามารถพาทีมไปได้ไกลถึงรอบรองชนะเลิศได้ โดยในรอบคัดเลือกลิเวอร์พูลสามารถถล่มทีมจากไอซ์แลนด์ไปในระบบเหย้าเยือนถึง 11-1 และสามารถผ่านทั้งอันเดอร์เลทช์และโคโลญจ์น์ได้ในรอบแรกและรอบก่อนรองชนะเลิศ แต่ต้องมาพ่ายให้กับอินเตอร์แชมป์เก่าและแชมป์ในปีนั้นไปในรอบรองชนะเลิศ โดยในนัดแรกที่สนามแอนฟิลด์ลิเวอร์พูลสามารถเอาชนะไปได้ 3-1 แต่กลับไปพ่าย 0-3 อย่างน่ากังขาในอิตาลี ทำให้แพ้ไปด้วยประตูรวม 3-4 การได้ลงเล่นในเกมยุโรปเป็นครั้งแรกนั้นส่งผลให้ฟอร์มการเล่นในลีกตกลงไป โดยลิเวอร์พูลสามารถทำได้เพียงแค่อันดับที่ 7 แต่แชงค์ลี่ย์ก็ยังสามารถทำให้แฟนๆได้ยิ้มออกในตอนจบฤดูกาล จากการที่สามารถคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้เป็นครั้งแรกของสโมสรในปีนั้น จากการเอาชนะลีดส์ไป 2-1 โดยทำประตูได้จากโรเจอร์ ฮันท์ และเอียน เซนต์จอห์นในช่วงต่อเวลาพิเศษหลังจากเสมอแบบไม่มีประตูใน 90 นาทีแรก


Jock Stein ผู้จัดการทีมของเซลติกพูดถึงบิล แชงค์ลี่ย์
“I don't believe everything Bill tells me about his players. 

Had they been that good, they'd not only have won the European Cup but the Ryder Cup, the Boat Race and even the Grand National!”
“ผมไม่เชื่อทุกอย่างที่บิลบอกผมเกี่ยวกับผู้เล่นของเขาหรอก ถ้าพวกเขาเก่งอย่างที่เขาบอกจริง 

พวกเขาคงไม่เพียงแค่ชนะในยูโรเปี้ยนคัพ แต่ก็สามารถที่จะชนะไรเดอร์คัพ (กอล์ฟ), 
การแข่งเรือ, และแม้แต่การแข่ง Grand National (แข่งม้า) ด้วย”


ฤดูกาลถัดมาหงส์แดงของแชงค์เกือบที่จะทำดับเบิ้ลแชมป์ได้ โดยสามารถที่จะกลับมาคว้าแชมป์ดิวิชั่นหนึ่งได้อีกครั้ง นับเป็นการได้แชมป์ลีกครั้งที่สองในรอบสามปี ส่วนในถ้วยยุโรปแม้จะทำได้ดีแต่ก็ต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้ง จากการพ่ายต่อดอร์ทมุนต์ในนัดชิงชนะเลิศคัพวินเนอร์ส์คัพไป 2-1 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ หลังจากนั้นแม้ว่าลิเวอร์พูล ก็ยังสามารถทำผลงานได้ดีและน่าเกรงขาม สามารถอยู่ในหัวตารางได้ตลอด สามารถไปเล่นในเกมยุโรปได้อย่างต่อเนื่องและพอมีลุ้นแชมป์อยู่บ้าง 
แต่ก็ไม่สามารถที่จะคว้าแชมป์ใดๆเพิ่มเติมได้อีก หลังจากการพ่ายแพ้ในเอฟเอคัพต่อวัตฟอร์ด
ในดิวิชั่นสองในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1970 ทำให้แชงค์ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด
ที่จะปรับเปลี่ยนนักเตะที่เริ่มโรยราออก และดึงนักเตะคนใหม่ๆเข้ามาสู่ทีม


แชงค์ลี่ย์พูดถึงการตัดสินใจผ่าตัดทีมครั้งใหญ่
“After Watford I knew I had to do my job and change the team. 
It had to be done and if I didn’t do it I was shirking my obligations”“หลังจากเกมกับวัตฟอร์ตผมก็รู้ทันทีว่าผมต้องทำหน้าที่ของผมและปรับเปลี่ยนทีม 
มันจำเป็นต้องทำ และถ้าผมไม่ทำก็แปลว่าผมละเว้นหน้าที่ของตัวเอง”


แชงค์ตัดสินใจปล่อยนักเตะที่เคยคว้าแชมป์ร่วมกันมาอย่างฮันท์, เซนต์จอห์น, ยีตส์, และลอว์เรนส์ 
ออก แล้วทำการดึงนักเตะอย่างเควิน คีแกน, จอห์น โตแช็ค, สตีฟ ไฮเวย์, ฟิล ท็อมป์สัน, 
เรย์ คลีเมนซ์, เอมลีน ฮิวจ์ส์ และอีกหลายคนเข้ามา โดยมีเพียงแค่ คัลลาแกน, ลอว์เลอร์, 
และสมิทธิที่เคยเป็นตัวหลักที่คว้าแชมป์ด้วยกันมาเหลืออยู่ ในที่สุดบิล แชงค์ลี่ย์, 
ทีมชุดที่สองของเขา และลิเวอร์พูลก็สามารถกลับมาผงาดได้อีกครั้งในฤดูกาล 1972/73 
ที่สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้สำเร็จ ลิเวอร์พูลได้แชมป์ดิวิชั่นหนึ่ง โดยมีแต้มมากกว่าอาร์เซน่อล
ที่ได้รองแชมป์อยู่สามคะแนน และลิเวอร์พูลก็ยังสามารถคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพเป็นครั้งแรก
ของสโมสรได้สำเร็จ โดยในนัดแรกลิเวอร์พูลสามารถเอาชนะโบรุสเซีย 
มึนเช่นกลัดบัคไปในแอนฟิลด์ได้ถึง 3-0 จากการทำสองประตูของคีแกนและอีกหนึ่งประตู
จากแลรี่ ลอยด์ ในนัดที่สองแม้ว่าจะโดนนำไปถึง 2-0 จากการทำสองประตูของจุปป์ ไฮน์เก้ส์ 
แต่ก็ยังยันเอาไว้ได้ทำให้ลิเวอร์พูลเอาชนะด้วยประตูรวม 3-2


เควิน คีแกนพูดถึงบิล แชงค์ลี่ย์
“ผมจะพกรูปของเขาอยู่เสมอ ผมจะพูดถึงเขาอยู่บ่อยๆ 
ผมได้เรียนรู้อย่างมากจากเขา
และเป็นหนี้บุญคุณเขาอย่างเหลือล้น”


ฤดูกาลถัดมาแม้ว่าลิเวอร์พูลจะยังทำผลงานได้ดี โดยสามารถคว้าแชมป์เอฟเอคัพเป็นครั้งที่สอง
ได้จากการเอาชนะนิวคาสเซิลไป 3-0 จากสองประตูของคีแกนและอีกประตูของไฮเวย์
ซึ่งนับเป็นชัยชนะที่ท่วมท้นที่สุด ในนัดชิงเอฟเอคัพนับตั้งแต่ปี 1960 และหงส์แดงยังเข้าป้าย
เป็นอันดับที่สองในลีกโดยมีแต้มน้อยกว่าลีดส์ ยูไนเต็ดอยู่ห้าคะแนน แต่แฟนๆลิเวอร์พูลทั้งหลาย
ต่างก็ตกอยู่ในอาการช็อคจากการที่บิล แชงค์ลี่ย์ซึ่งตอนนั้นมีอายุ 60 ปี ประกาศที่จะวางมือ
จากการเป็นผู้จัดการทีมในเดือนกรกฎาคม ปี 1974 หลังจากรับใช้สโมสรมาเป็นเวลาเกือบ 15 ปี 
เพื่อที่จะได้ใช้เวลาอยู่กับภรรยาและครอบครัว เมื่อข่าวได้กระจายออกไป 
แฟนๆทั้งหลายต่างก็เกือบจะคุ้มคลั่ง สายโทรศัพท์ของสโมสรต่างมีแฟนๆโทรเข้ามาไม่ว่างเว้น 
รวมถึงมีคนงานของโรงงานแห่งหนึ่งประกาศว่าจะหยุดงานจนกว่าแชงค์จะเปลี่ยนใจ


แชงค์ลี่ย์พูดถึงตอนลาออก
“It was the most difficult thing in the world, when I went to tell the chairman. 

It was like walking to the electric chair. That’s the way I felt”
“มันเป็นสิ่งที่ยากมากที่สุดในโลกในตอนที่ผมกำลังจะไปบอกประธานสโมสร 

มันรู้สึกเหมือนกับว่ากำลังเดินไปยังเก้าอี้ไฟฟ้าเลย ผมรู้สึกอย่างนั้น”


บ็อบ เพสลี่ย์ตัดสินใจที่เข้ามารับงานผู้จัดการทีมต่อจากแชงค์ และดึงอดีตนักเตะอย่างรอนนี่ มอแรน 
และรอย อีแวนส์เข้ามาเสริมในบู้ทรูมสต๊าฟ ทางการอังกฤษได้ตัดสินใจมอบเครื่องราชระดับ OBE 
ให้กับแชงค์ในเดือนพฤศจิกายนปี 1974 จากการนำทีมประสบความสำเร็จทั้งในและนอกประเทศ 
และแม้ว่าเขาจะไม่ได้คุมทีมแล้ว แต่รากฐานที่เขาวางไว้เป็นอย่างดีก็ได้ช่วยให้บ็อบสามารถพาทีม 
ให้ประสบความสำเร็จยิ่งไปกว่าเดิมได้


จอห์น โตแช็คพูดถึงแชงค์
“แชงค์เป็นคนที่พวกเรานักเตะต่างรู้สึกเกรงขาม เรารู้ดีว่าเขามีความหมายกับแฟนๆลิเวอร์พูล

และสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลขนาดไหน ทุกคนต่างมีความนับถืออย่างสูงสุดในตัวเขา 
ผมจำได้ว่าแชงค์และบ็อบเคยบอกกับผมว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในเกมฟุตบอลในตอนนั้น
ก็เป็นสิ่งเดียวกับสิ่งที่สำคัญเมื่อ 50 ปีที่แล้ว และมันก็จะยังสำคัญไปอีกใน 50 ปีข้างหน้า”


เช้าวันที่ 26 กันยายน 1981 บิล แชงค์ลี่ย์ในวัย 68 ปีถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล
หลังจากมีอาการหัวใจวาย ขณะที่อยู่ในโรงพยาบาลเขายืนยันที่จะอยู่ในห้องพักธรรมดา
เช่นเดียวกับคนไข้คนอื่น แทนที่จะเป็นห้องพิเศษส่วนตัว หลังจากที่ข่าวเริ่มกระจายออกไป
โบสถ์ทั้งหลายต่างเนืองแน่นไปด้วยผู้คน ที่มาสวดมนต์ภาวนาให้กับเขา อาการของแชงค์ค่อยๆดีขึ้น
และทำท่าว่าจะกลับมาหายเป็นปกติ แต่แล้วในคืนวันที่ 28 อาการเขากลับแย่ลงอย่างคาดไม่ถืง 
และเขาก็เสียชีวิตในเช้าวันที่ 29 กันยายน ปี 1981 ในเวลาตีหนึ่งยี่สิบนาที



จิตวิญญาณของเขาไม่เคยจากหายไปจากถิ่นแอนฟิลด์ ที่ซึ่งมีรูปปั้นของปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ (สร้างในปี 1997) ยืนตระหง่านอยู่เบื้องหน้าชาวเดอะค็อป และมีแชงค์ลี่ย์เกต (สร้างในปี 1982) ซึ่งคอยอุ้มชูวลีอมตะ “You’ll Never Walk Alone” ของชาวหงส์แดง แน่นอนว่าบิล แชงค์ลี่ย์จะไม่มีวันเดินอย่างเดียวดายและจะเป็นที่เคารพรักของแฟนลิเวอร์พูล ทุกคนตราบนานเท่านาน






บทสัมภาษณ์สุดท้ายของ บิลล์ แชงค์ลีย์
ปรมาจารย์ลูกหนัง แห่งถิ่นแอนฟิลด์ และลงตีพิมพ์ใน Liverpool echo 
เจ็ดปีหลังจากที่เขาลาออกจากตำแหน่ง ผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล
ในวันที่ 13 ก.ค. 1981. (โมยา โจนส์ - นักข่าวผู้สัมภาษณ์)

THE ART OF FOOTBALL

เกมฟุตบอลก็เหมือนกับการวิ่งผลัด ที่ลิเวอร์พูลเราสามารถทำประตูได้ด้วยการต่อบอลจากแดนหลัง เราเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ตลอดเวลาที่เล่นกับพวกลาตินในยุโรป. มันอาจจะดูมั่วๆซักพักกว่าที่ทุกอย่างจะเข้ารูปเข้ารอย. มันเป็นการเล่นที่สุดแสนจะเรียบง่ายแต่ก็เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ

เล่นไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้า! ถ้านักเตะของคุณปรับตัวและรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสนามได้ดี คุณก็มีโอกาสแล้วล่ะ. มันสำคัญที่คุณต้องถนอมแรงเอาไว้และทำให้คู่แข่งไล่บอลให้มากที่สุด. เมื่อคุณต้องเล่นมากกว่า 60 เกมต่อฤดูกาล คุณวิ่งเป็นบ้าเป็นหลังตลอดเวลาไม่ได้หรอก

ระบบการเล่นที่เราคิดค้นขึ้นมามันออกแบบมาเพื่อสร้างความสับสนให้กับคู่ต่อสู้ และก็ประหยัดแรงของนักเตะทีมเรา. คุณต้องการให้ทุกคนทำงานในส่วนของตัวเอง ที่สำคัญที่สุดคือทุกคนสามารถครองบอลและเล่นอะไรที่มันพื้นฐานได้ นั่นคือการควบคุมลูกบอลและผ่านบอล ถ้าคุณช้าคู่แข่งก็จะถอยลงไปตั้งรับกันหมด ดังนั้นคุณต้องมองหาใครซักคนที่บังคับบอลได้ทันทีแล้วจ่ายต่อไปยังข้างหน้า เพราะมันจะทำให้คุณมีที่ว่างมากขึ้น

คุณคงเห็นว่าบางทีมเล่นเหมือนเกี่ยงกัน-ไม่อยากได้บอล พวกเขาต่างก็หันหลังให้พวกเดียวกัน แต่ที่ลิเวอร์พูลจะมีคนคอยช่วยคุณอยู่เสมอ. นั่นคือเหตุผลที่เคนนี่ ดัลกลิช ประสบความสำเร็จทันทีที่ย้ายมาอยู่กับเรา.เขามีทางเลือกมากมายที่นี่ เคนนี่คือนักเตะที่ใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ได้อย่างเต็มที่

ดังนั้นนี่แหละคือความลับของเรา ฟังเอาไว้! จ่ายบอลให้เร็ว, ถ่ายมันไปทั่วสนาม ไม่จำเป็นต้องจ่ายให้ไกลนัก แต่แบบแผนการตั้งรับของคู่แข่งจะเปลี่ยนไป และจะมีที่ว่างเปิดให้คุณได้จ่ายบอลสุดท้ายก่อนเข้าทำประตู. นักเตะทุกคนต้องเข้าใจว่าเวลาที่พวกเขาจ่ายบอล นั่นเป็นแค่จุดเริ่มต้น พวกเขายังต้องสนับสนุนและหาทางช่วยเหลือเพื่อนๆคนอื่นๆต่อไป




TRAINING

ระหว่างการซ้อมอันเข้มขันนักเตะทุกคนต่างก็เหงื่อชุ่มตัว แต่พวกเขาก็ยังต้องสวมสเว็ตเตอร์หรือใส่เสื้ออยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าเป็นวันที่อากาศหนาวเย็น.นั่นก็เพราะมันจะช่วยห่อหุ้มและปกป้องไตทั้งสองข้างของพวกเขาได้. ถ้าไม่สวมอะไรเลยพวกเขาก็ต้องรีบใส่ทันทีที่ฝึกซ้อมเสร็จ เพื่อให้ร่างกายอบอุ่นเข้าไว้.แทนที่เราจะเปลี่ยนเสื้อผ้า, ฝึกซ้อม, อาบน้ำ และกินข้าวกันที่เมลวู้ดแล้วค่อยกลับบ้าน เรากลับเปลี่ยนชุดกันที่แอนฟิลด์ แล้วนั่งรถบัสออกจากที่นั่นแทน

เมื่ออยู่ในช่วงปรีซีซั่นตัวคุณกำลังร้อนและเต็มไปด้วยเหงื่อ คุณต้องไม่กระโจนลงน้ำภายในห้านาทีหลังจากที่ฝึกซ้อมเสร็จ ไม่งั้นคุณจะเหงื่อออกไปทั้งวัน. หลังซ้อมเสร็จผมจะชวนหนุ่มๆกินชาคนละถ้วยและเดินเล่นไปรอบๆก่อน มันใช้เวลาราว 15 นาทีหรือมากกว่านั้นในการเดินทางจากเวสดาร์บี้ไปยังแอนฟิลด์ เราจะใช้เวลาหลังการซ้อมทั้งสิ้นประมาณ 40 นาทีกว่าที่ทุกคนจะได้อาบน้ำ

นี่อาจจะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เราฟิตกว่าทีมอื่นอยู่เสมอ ทีมฟุตบอลส่วนใหญ่จะมุ่งหน้าไปที่สนามซ้อม, เปลี่ยนเสื้อผ้าที่นั่น และตรงไปอาบน้ำร้อนทันทีหลังจากฝึกซ้อมเสร็จ ซึ่งผมไม่เห็นด้วยเลย. ผู้เล่นของเราไม่เคยต้องรู้สึกอึดอัดพวกเขาไม่เคยกินมื้อเที่ยงทั้งที่เหงื่อชุ่มตัว ในความเห็นของผม, นี่คือกุญแจสำคัญที่สุดในเรื่องความฟิตของนักเตะลิเวอร์พูล. มันป้องกันอาการบาดเจ็บที่เราไม่คาดคิดได้

ปกตินักฟุตบอลจะซ้อมราวหนึ่งชั่วโมงครึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะทำงานกันตลอด 90 นาทีที่ว่า. เราจะสลับกันออกมาสาธิตและคนที่เหลือก็นั่งดูอยู่เฉยๆ ก่อนจะถึงคิวตัวเอง. คุณซ้อมจริงๆไม่นานนัก, แต่อยู่ที่คุณทุ่มเทกับมันแค่ไหนต่างหาก. ถ้าคุณฝึกซ้อมตามขั้นตอน วันนึงซ้อมซัก 35 นาทีก็พอแล้ว

ที่ลิเวอร์พูลเราจะให้ทุกคนซ้อมจนหมดแรงก่อนจะพักเหนื่อยด้วยบอลโต๊เล็กทั้งข้างละสอง, ข้างละสาม และข้างละห้า ซึ่งคุณจะได้ฝึกซ้อมเหมือนนักมวย, ทั้งการบิดตัวและหมุนตัว. การซ้อมจะเน้นไปยังทักษะพื้นฐานเช่นการควบคุมบอล, การจ่ายบอล, วิสัยทัศน์, การรับรู้ และถ้าคุณฟิตคุณก็จะได้เปรียบคนอื่นแบบมหาศาล

มันจำเป็นที่เราต้องพยายามให้ทุกคนได้สัมผัสบอลโดยเร็วที่สุดหลังจากเริ่มเกมการแข่งขัน.เมื่อบอลมาที่คุณคุณก็จะพักบอลลงง่ายๆและจ่ายต่อให้เพื่อนร่วมทีม มันดูเหมือนไม่มีอะไรมาก แต่ก็สำคัญเลยทีเดียว ถ้าคุณพยายามจะทำอะไรฉลาดๆแล้วพลาด มันจะพรากความมั่นใจไปจากคุณทันที และนั่นไม่ใช่วิธีของผมเลย




MATCH PREPARATION

การฝึกซ้อมจะเสร็จสิ้นลงในวันศุกร์ และเราจะมาพูดคุยเรื่องเกมนัดต่อไปกันเสมอ ทั้งตัวจริงและตัวสำรอง.จะมีสต๊าฟคนนึงไปสอดแนมคู่แข่งและเขียนรายงานมาให้เราอ่าน ทั้งหมดที่ผมอยากรู้คือแแผนการเล่นของพวกเขาไม่ว่าจะเป็น 4-4-2, 4-3-3 หรือแบบไหนก็ตาม และมีนักเตะคนไหนของพวกเขาที่โดดเด่นเป็นพิเศษจนเราต้องหาทางหยุดเขาไหม? ผมไม่เคยถกเรื่องของคู่แข่งนานๆเลย สิ่งสุดท้ายที่คุณอยากทำคือการยกย่องคู่แข่งจนนักเตะของคุณเองกลัว.

เราอาจจะต้องเตะกับแมนฯยูฯในสัปดาห์นั้นแต่ผมจะไม่ออกมายกยอปอปั้นคู่แข่งของเราแน่ๆ. ผมจำได้ว่าเคยได้ยินนักเตะของเราเดินออกมาจากห้องประชุมแล้วพูดว่า "(จอร์จ) เบสต์, (เดนนิส) ลอว์ และ(บ็อบบี้) ชาร์ลตั้น ไม่ได้ลงใช่ไหม?" มันทำให้ผมยิ้มเลย. ส่วนใหญ่แล้วเราจะกังวลแต่เรื่องเราเองและการเตรียมตัวก่อนเกมของทั้งทีมเท่านั้น. สิ่งที่ผมอยากจะสื่อก็คือ "ทำทุกอย่างให้ง่ายเข้าไว้. จงอดทน แม้จะต้องรอประตูแรกจนถึงนาทีที่ 89 ก็ตาม" จำนวนแมทช์ที่เราเอาชนะได้ในนาทีสุดท้ายมันแทบไม่น่าเชื่อ และเมื่อคุณฉกประตูมาได้แบบนั้น, มันจะทำให้คู่แข่งหัวใจแทบสลายเลยทีเดียว.

ผมพยายามหาโจ๊กขำๆมาเสมอเพื่อติดเครื่องให้หนุ่มๆออกไปน็อคคู่ต่อสู้ให้ได้. เราเอาจริงเอาจังในเกมการแข่งขัน, แต่ก็พยายามจะหัวเราะกันอยู่เสมอนอกห้องประชุมทีม.และผมมักจะมีหมัดเด็ดเอาไว้สำหรับในวันเสาร์ เช่นอาจจะบอกกับคนเฝ้าประตูที่แอนฟิลด์ว่า "เอ้านี่! กล่องทิชชู่ เอาไปให้ฝั่งตรงข้ามตอนที่พวกเขาเดินเข้าประตูมา"

บ่อยครั้งที่ผมมักพูดว่าก็แค่คู่แข่งของเราชนะ เราไม่ได้เสียหายมากมายซักหน่อย แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราแพ้ เราก็พร้อมจะเรียนรู้จากมันอยู่เสมอ. เรามีความมั่นใจตลอดเวลา, แต่ก็ไม่เคยมีมากจนเกินไป.ความอวดดีเป็นอุปนิสัยของคนโง่ มันหมายความว่าคุณพูดมากเกินไป และถ้าคุณผิดจริง คู่ต่อสู้ก็จะลากคุณกลับมาสู่ความเป็นจริงเอง



THE MAGIC OF MELWOOD

เมื่อก่อนผมไปคุมการซ้อมที่เมลวู้ดทุกวัน จนเมื่อฤดูกาลสุดท้ายผมถึงเลิกไป เพราะเริ่มรู้สึกเหมือนเป็นผู้บุกรุก. ผมจะไปก็ต่อเมื่อไปซาวน่าหรืออาบน้ำมนต์วิเศษของเมลวู้ดเท่านั้น.

เมลวู้ดมีความหมายกับผมมากกว่าส่วนอื่นๆของลิเวอร์พูล มันเป็นที่ๆสร้างลิเวอร์พูลขึ้นมา ครั้งแรกที่ผมเห็นที่นี่มันเป็นที่ๆถูกละเลยไม่มีใครเอาใจใส่และมีหญ้ายาวเฟื้อย ผมพูดกับเนสว่า "ผมกำลังจะได้เห็นเมลวู้ดกำเนิดใหม่อีกครั้ง, เป็นที่บ่มเพาะนักเตะ"ผมจัดการทุกตารางนิ้วของมัน ถ้าใครมาพรากเมลวู้ดไปจากผมละก็...(เสียงตะกุกตะกักจนเงียบไป)






This is Anfield


'It's there to remind our lads who they're playing for, 
and to remind the opposition who they're playing against.'

นี่เป็นเครื่องเตือนใจเหล่านักเตะของเราว่า พวกเขาต้องเล่นเพื่อใคร 

และเตือนให้คู่ต่อสู้ของเรารู้ว่า พวกเขาจะต้องเจอกับใคร 

Bill Shankly กล่าวถึงป้าย This is anfield 



          ป้ายสุดคลาสสิคที่เขียนว่า "This is Anfield" (ที่นี่ แอนฟิลด์) ที่ตั้งอยู่ระหว่างอุโมงค์นักเตะที่กำลังจะเดินลงสู่สนามเป็นความต้องการของ บิล แชงค์ลี่ย์ ที่ต้องการจะข่มขวัญผู้มาเยือนบวกกับเหล่า "เดอะ ค็อป" ที่ส่งเสียงให้กำลังใจทีมตลอดเวลาที่อยู่ในสนามทำให้สนามแห่งนี้ถูกขนานนามถึงบรรยากาศอันสุดยอดทุกครั้งสำหรับผู้มาเยือน
          ลิเวอร์พูลเริ่มใช้แอนฟิลด์เป็นสนามเหย้าครั้งแรกในปี 1892 จนถึงปัจจุบันโดยที่ยังคงความเป็นอนุรักษ์นิยมไว้อย่างเข้มแข็งโดยไม่เอนเอียงไปตามยุคสมัย
          มักจะมีเสียงบ่นจากผู้มาเยือนสนามแห่งนี้อยู่บ่อยครั้งถึงความกะทัดรัดของที่นั่งจนก่อให้เกิดความอึดอัด เป็นเหตุให้สนามแห่งนี้มักถูกเมินจากการแข่งขันรายการสำคัญๆ ทั้งๆที่ แอนฟิลด์ นั้นมีประวัติศาสตร์ทางลูกหนังอย่างมากมาย

ที่มา : ไกด์บุ๊คพรีเมียร์ลีก, http://www.liverpoolthailand.com
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น